ประวัติวัดชัยสถิต (วัดป่าเสร้าหลวง)
15 มี.ค. 2568
รายละเอียด:
ประวัติวัดชัยสถิต (วัดป่าเสร้าหลวง) วัดชัยสถิต ตั้งอยู่บ้านป่าเสร้าหลวง หมู่ที่ ๘ ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคระสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๔ แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน อาคารเสนาสนะภายในวัด ประกอบด้วยดังนี้ ๑. วิหาร ๒. ศาลาบาตร จำนวน ๑ หลัง ๓. ศาลาเอนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง ๔. วิหารจตุรมุข จำนวน ๑ หลัง เพื่อเป็นที่เก็บปูชนียวัตถุรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดชัยสถิตสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นเวลานานกว่า ๑๑๒ ปีแล้ว (ไม่ได้ระบุว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง) ที่ผ่านมามีการบริหารและปกครองและมีเจ้าอาวาทเท่าที่ทราบดังนี้ รูปที่ ๑ พระเจ้าจันทร์ตา รูปที่ ๒ พระเจ้าบุญเติง รูปที่ ๓ พระบุญศรี รูปที่ ๔ พระทองคำ รูปที่ ๕ พระดวงแก้ว รูปที่ ๖ พระดำพุฒ รูปที่ ๗ พระคำอ้าย รูปที่ ๘ พระบุญยัง รูปที่ ๙ พระบุญยืน รูปที่ ๑๐ พระอธิการอินสวน อริยธมฺโม รูปที่ ๑๑ พระอธิการสง่า วชิรญาโญ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ จนถึงปัจจุบันคณะศรัทธาประชาชนภายในหมู่บ้านมี ๑๕๓ หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด ประมาณ ๓๐๐ คน มีทั้งหมด ๒ หมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ บ้านป่าเสร้าหลวง ชื่อ นายสุวิทย์ ใจโต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘ บ้านป่าเสร้าน้อย ชื่อ นายวันชัย นาคำ ปัจจุบันมีพระภิกษุ – สามเณร จำนวน ๓ รูป พระ ๒ รูป สามเณร ๑ รูป ประวัติหมู่บ้านและที่มาของวัดป่าเสร้าหลวง เดิมสถานที่แห่งนี้เป็นป่าไม้เสร้า มีครอบครัวที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ประมาณ ๒๐ ครัวเรือนในสมัยนั้นการเดินทางเมื่อก่อนนั้นเวลาจะไปไหนมาไหนก็ต้องลำบาก เพราะจะต้องเดินเท้ากันและมีการใช้วัวล้อเทียมเกวียนเป็นยานพาหนะเข้าออกผ่าน หมู่บ้านแห่งนี้เพราะหมู่บ้านแห่งนี้เพราะหมู่บ้านแห่งนี้เป็นทางผ่านเดียวก่อนที่จะเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ สำหรับผู้ที่เดินจะทางไปไหนต่อไหนแล้ว เมื่อคนที่เดินทางไปมา เมื่อมาถึงป่าไม้เสร้านี้ก็จะต้องแวะพักคลายร้อนเพื่อให้หายเหนื่อย เพราะที่แห่งนี้เต็มไปด้วยป่าไม้เสร้าที่มีความสงบและร่มรื่น เย็นสบาย ผู้คนที่ผ่านไปมาก็ต้องแวะให้หายเซา (เซา แปลว่า เหนื่อย) พอหายเซาแล้วก็จะพากันเดินทางต่อไป ครั้งหนึ่งมีคนกล่าวว่า มีพระธุดงค์รูปหนึ่งท่านได้เดินทางผ่านมาแล้วใช้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พักและใช้เป็นที่จำศีลภาวนาอยู่ในป่าแห่งนี้ พระธุดงค์รูปนี้จึงได้มีความคิดจะสร้างที่ตรงนี้ให้เป็นวัด จึงได้สร้างพระพุทธรูปจำลองซึ่งขณะนั้นทำด้วยการปั้นดินเหนียวกับปูนขาว และได้ตัดเอาไม้เสร้ามาทำเป็นหัวใจพระพุทธรูป แล้วนำมาใส่ให้พระพุทธรูปองค์นี้ แล้วท่านยังได้ทำการก่อสร้างวิหารมุงด้วยหญ้าคา พระธุดงค์จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านและวัดโดยคิดเอาจากที่ตรงนี้เป็นป่าไม้เสร้าแล้วยังนำไม้เสร้ามาทำหัวใจพระพุทธรูปอีกด้วย จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านป่าเสร้า” พอนานเข้าหลายปีจึงทำให้มีแรงศรัทธามายิ่งขึ้น ประชาชนก็เพิ่มมากขึ้นทำให้มีประชากรในครอบครัวเพิ่มยิ่งขึ้น พระธุดงค์รูปนั้นจึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านป่าเสร้าหลวง” ไม่นานนักพระธุดงค์รูปนั้นก็ได้มรณภาพลง ณ ที่วัดป่าเสร้าหลวงแห่งนี้ จากการสอบถามข้อมูลของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ว่าปัจจุบันยังมีอัฐิของพระธุดงค์รูปนั้นอยู่ที่วัดป่าเสร้าหลวง แต่ไม่ปรากฏชื่อไว้ ในปี ๒๔๔๐ นั้นเอง วัดป่าเสร้าหลวงได้เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นเวลานานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว และไม่ได้ระบุว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง เมื่อพระธุดงค์รูปนั้นได้มรณภาพลง ผู้เฒ่าผู้แก่พร้อมชาวบ้านจำนวนหนึ่งในหมู่บ้านจึงไปขอพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระลูกวัดกอกหม่น ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มาอยู่แทน ชื่อว่า พระจันทร์ตา ท่านเองจึงได้ปฏิสังขรณ์วัดวาเรื่อยมาครั้นเมื่อสร้างวิหารเสร็จแล้วยังขาดแต่ไม่มีพระพุทธรูปให้ประชาชนได้กราบสักการบูชา พระจันทร์ตาจึงได้เดินทางเข้าในตัวเมืองเชียงใหม่ไปที่วัดเชตุพน ต.วัดเกตุ จ.เชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระโพธิรังสี เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้นแล้วกล่าวถึงการสร้างวิหารเสร็จแล้วไม่พระประธานในวิหารท่านเจ้าคุณจึงได้บอกแก่พระจันทร์ตาว่า ไปเอาที่วัดนางเหลียว (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) เพราะขณะนั้นวัดนางเหลียวเป็นวัดร้างไม่มีพระภิกษุจำพรรษาเลย พระจันทร์ตาจึงได้นำชาวบ้านพากันไปเอาพระพุทธรูปจากวัดนางเหลียวมา โดยได้นำพระพุทธรูปมาจำนวน ๓ องค์ และรอยพระพุทธบาทจำลอง หรือ ป๋าต๊ะ โดยได้นำวัวล้อเกวียนใส่รถบรรทุกมาโดยการเดินทางเท้าเปล่าแล้วนำมาไว้ที่วัดป่าเสร้าหลวง เป็นที่สักการบูชาของชาวบ้านมานานจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันพระพุทธรูปที่นำมาได้ถูกโจรลักขโมยไป ๑ องค์ แล้วคงเหลือเพียงอีก ๒ องค์ ได้เก็บไว้ในที่มิดชิดแล้ว เมื่อปี ๒๕๔๔ มีกลุ่มออมทรัพย์เกิดขึ้นตามนบายของรัฐบาลทำให้ต้องทำหนังสือราชการและส่งข้อมูลให้กับทางอำเภอ พอทราบข้อมูลอีกทีชื่อหมู่บ้านก็กลายเป็นบ้านป่าเสร้าน้อย โดยไม่มีใครทราบว่าเปลี่ยนไปได้อย่างไร จนทุกวันนี้ต้องใช้ชื่อหมู่บ้านป่าเสร้าน้อยตลอดมา
รูปภาพ
ไฟล์เอกสาร